ขึ้นดอยภูคามาชมวิวพร้อมเยี่ยมชมหินที่สวยงาม

อุทยานแห่งชาติดอยภูคา ตั้งอยู่ในจังหวัดน่าน มีลักษณะภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสูงที่มีความสลับซับซ้อน มีพื้นที่ราบอยู่ตามบริเวณโดยรอบ มีตัวยอดดอยคงหญ้าหวายเป็นยอดเขาที่สูงที่สุด ลักษณะโดยทั่วไปเป็นภูเขาหินชั้นและหินอัคนี โดยในพื้นที่ป่าแห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำ ลำธารที่มีความอุดมสมบูรณ์เป็นอย่างมาก ด้วยความที่เป็นภูเขาหินจึงมีจุดเด่นของหินที่อยู่บนภูเขา ที่มีทั้งหินชั้น หินตะกอนและหินอัคนี โดยมีการจำแนกชั้นหินตามอายุของหินอีกด้วย พร้อมด้วยความรู้ของหินทุกก้อนทุกประเภทที่อยู่ในอุทยานแห่งชาติดอยภูคา ได้จัดไว้ให้เป็นความรู้เบื้องต้นของผู้ที่มาเที่ยวที่นี่อีกด้วย

อุทยานแห่งชาติดอยภูคามีพันธุ์ไม้ป่าที่หายากและพรรณไม่เฉพาะถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เพราะด้วยความที่อุทยานเป็นภูเขาสูงและเป็นหินเสียส่วนใหญ่ บางพื้นที่จึงมีพืชที่มีลักษณะเฉพาะ และเป็นพันธุ์ที่ค่อนข้างหายาก เนื่องจากมีการกระจายเป็นวงจำกัด อย่างเช่น ประดับหินดาว หญ้าแพรกหิน ขาวละมุน เทียนดอย เป็นต้น ในชนิดไม้เลื้อยที่หายากและนักท่องเที่ยวไม่ควรพลาดที่จะต้องได้เห็นสักครั้งในชีวิต คือ เสี้ยวเครือ มะลิภูหลวง นมตำเลีย เป็นต้น แล้วไปชมต้นภูคา พืชหายกาที่สุดในประเทศไทย จะพบแค่เพียงแห่งเดียวคือที่อุทยานแห่งชาติดอยภูคาเท่านั้น ต้นภูคาเป็นไม้ยืนต้นที่สูงได้ถึง 25เมตร เปลือกเรียบสีเท่าอ่อน จะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม เมื่อออกดอกบานสะพรั่งจะมีความสวยงามเป็นอย่างมาก  ถ้าใครที่ชอบผจญภัยก็สามารถไปพิชิตยอดดอยภูแว ซึ่งเป็นยอดดอยที่มีความสูง มีลักษณะที่โดดเด่นที่เป็นทุ่งหญ้าบนดอย และมีลานหินพร้อมหน้าผาที่สูงชัน มีพรรณไม่เฉพาะถิ่นและพรรณไม้ที่หายาก อย่างเช่นกุหลาบพันปี และการเดินทางจะต้องเดินเท้าขึ้นไปประมาณ 8 กิโลเมตรก็จะถึงยอดและสามารถชมวิวมุมสูงที่สวยงาม

มาสนุกด้วยการล่องแก่งที่น่าตื่นเต้น และความสนุกที่ไม่ใครให้ได้นอกจากที่ล่องแก่งน้ำว้าตอนกลาง ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยภูคา เป็นสถานที่ล่องแก่งในระดับ 3-5 และถือว่าเป็นสุดยอดแห่งการล่องแก่งอีกด้วย มาชมถ้ำที่สวยงาม 2 แห่งอย่างถ้ำผาแดง ถ้ำผาผึ้งที่มีความสวยงามและมีความยาวมากที่สุดในอุทยาน ภายในถ้ำมีหินงอกหินย้อยที่สวยงามและยังมีน้ำตก ลำธารภายในถ้ำอีกด้วย และถ้ำผาฆ้องที่เป็นถ้ำในขนาดกลาง มีความสวยงามที่เป็นหินย้อยที่กระทบแสงได้อย่างแวววาว และสามารถเข้าชมได้ไม่กี่เดือนเท่านั้น เพราะน้ำมักจะท่วมเข้ามาถ้ำ โดยต้องเดินเท้าจากอุทยานมาอีก 7 กิโลเมตรก็จะถึงถ้ำแห่งนี้